บทบาทของอาหารพืชเป็นหลัก (Plant-based whole food) ในโรคเรื้อรัง
คุณต้องเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “เราเป็นในสิ่งที่เรากิน” หรือ “We are what we eat” ข้อความนี้หมายถึง สุขภาพของเราจะเป็นไปตามอาหารที่เรากิน เราต้องมีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงเท่านั้น เพื่อที่จะทำความฝันของเราให้เป็นจริงได้ การเลือกรับประทานอาหารของเราจึงมีบทบาทสำคัญ เนื่องจากวิถีชีวิตที่รีบเร่งในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ชีวิตเราต้องขึ้นอยู่กับอาหารปรุงแต่ง อาหารเนื้อสัตว์ เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคตับแข็ง และโรคหัวใจ เช่นภาวะหลอดเลือดเป็นต้น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไต กลายเป็นวิถีชีวิตที่ปกติมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยสำหรับโรคเรื้อรังเหล่านี้คือ อาหารและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่แล้วอาหารเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเรื้อรัง อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ คือการขาดหรือมีธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองมากเกินไป เช่น วิตามินและแร่ธาตุ ทุกปฏิกิริยาในร่างกายไม่ว่าจะเกิดจากกิจกรรมทางร่างกายหรือทางจิตใจ จะสร้างประจุในร่างกายซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการทำงานตามปกติในร่างกายและอาจส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารประกอบที่ช่วยกำจัดไอออนอิสระและไม่มีผลเสีย แม้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระบางชนิดสามารถผลิตได้เองในร่างกาย แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะรับมือกับความเครียดหรือภาระจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นทั้งหมด อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพจะไม่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายต้องการ เป็นผลให้เกิดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง บทความนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลของการรับประทานอาหารประเภทพืชเป็นหลัก ในการรักษาโรคเรื้อรัง
อาหารจากพืชในโรคเบาหวาน:
อาหารพืชเป็นหลัก โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ผัก ผลไม้ และเมล็ดธัญพืช งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าอาหารจากพืชมีส่วนในการป้องกันความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานประเภท 2 เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้คุณได้รับสารอาหารที่จำเป็น ที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพแข็งแรง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในร่างกาย เห็นได้ชัดว่าการรับประทานอาหารจากพืช มีประโยชน์ในโรคเบาหวานโดยการลดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดและหลอดเลือดขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน 1
การเลือกรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน อาหารที่มีแคลอรี่สูง อาหารจานด่วน ไขมันสัตว์ ธัญพืชขัดสี และเครื่องดื่มผสมน้ำตาล คือปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงและเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคเบาหวาน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยเน้นที่พฤติกรรมการบริโภคอาหาร จึงเป็นเรื่องสำคัญ และประโยชน์ในการป้องกันรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 1
อาหารจากพืช (Plant-based whole food) ในโรคหลอดเลือดหัวใจ (CAD):
โรคหัวใจเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทั่วโลก การศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่าสาเหตุที่แท้จริง คือพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งหากได้รับการแก้ไขตรงเวลาสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ทั่วโลก 2
ในโลกปัจจุบันผู้คนมักพึ่งพาการรักษาทางเภสัชวิทยาและการผ่าตัดมากกว่าวิธีธรรมชาติในการต่อสู้กับโรค การปรับเปลี่ยนอาหารและการใช้ชีวิต มักถูกมองว่าเป็นเรื่องยากที่จะปฏิบัติ อย่างไรก็ตามการรักษาตามธรรมชาติเหล่านี้ไม่เพียงแต่ป้องกันความเสี่ยงของโรคเท่านั้น แต่ยังช่วยในการรักษาและฟื้นฟูโรคเรื้อรังบางชนิดอีกด้วย จากการศึกษาของสมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศอเมริกา และสถาบันศึกษาและวิจัยโรคมะเร็งประเทศอเมริกาพบว่า อาหารที่ดีต่อร่างกาย คือครึ่งจานประกอบด้วย กากใยไฟเบอร์ โพแทสเซียมแมกนีเซียม โฟเลต ธาตุเหล็กและวิตามิน เอ และวิตามิน ซี ด้วยสารอาหารเหล่านี้ เมื่อเราเปลี่ยนไปรับประทานอาหารจากพืชแล้ว จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตเนื่องจากโรคหัวใจขาดเลือด ลดความจำเป็นในการใช้ยาและการผ่าตัด ลดความอ้วนและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูงและอาจจะช่วยพลิกผันร่างกายในการย้อนกลับของโรคหัวใจขั้นสูงและโรคเบาหวานประเภทที่ 2
อาหารจากพืชมีส่วนในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (CAD) อาหารจากพืชสามารถเพิ่มปัจจัยป้องกันเยื่อบุผนังหลอดเลือดและลดปัจจัยที่ทำลายเซลล์บุผนังหลอดเลือดได้ 3
อาหารจากพืชในโรคไตเรื้อรัง (CKD):
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรเป็นอาหารที่ทำให้การอุบัติของโรคลดลง โดยการลดความเสี่ยงต่อไตวาย ความเป็นพิษต่อระบบปัสสาวะ และโปรตีนรั่วในปัสสาวะ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการรักษาภาวะโภชนาการที่ดี และยังช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทุติยภูมิ เช่นภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และโรคกระดูกเป็นต้น เห็นได้ชัดว่าโปรตีนจากอาหารประเภทพืช ช่วยในการควบคุมความดันโลหิต ระดับโปรตีนในปัสสาวะ และอัตราการกรองของเสียออกจากไต และลดความเสียหายของเนื้อเยื่อไตเมื่อเทียบกับโปรตีนจากอาหารจากสัตว์ มูลนิธิโรคไตแห่งชาติแนะนำว่าการรับประทานอาหารจากพืชเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วย
หากพิจารณาระบบนิเวศวิทยาของห่วงโซ่อาหาร พืชเป็นผู้สร้าง และสัตว์เป็นผู้บริโภค ดังนั้นพืชจึงมีให้สารอาหารที่มีประโยชน์มากกว่าสัตว์ ดังนั้นจึงให้สุขภาพที่ดีมากกว่า
ปัจจุบันอาหารจากพืช ได้รับการยอมรับว่าเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพแทนการรับประทานยา การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตและอาหารนี้ ช่วยให้เราเอาชนะสงครามกับโรคเรื้อรังท่ามกลางวิถีชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน
Reference:
1. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5466941/
Michelle McMacken and Sapana Shah. A plant-based diet for the prevention and treatment of type 2 diabetes. J Geriatr Cardiol. 2017 May; 14(5): 342–354
2. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5466942/
Julieanna Hever and Raymond J Cronise. Plant-based nutrition for healthcare professionals: implementing diet as a primary modality in the prevention and treatment of chronic disease. J Geriatr Cardiol. 2017 May; 14(5): 355–368.
3. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4315380/
Phillip Tuso, MD, FACP, FASN. A Plant-Based Diet, Atherogenesis, and Coronary Artery Disease Prevention. Perm J. 2015 Winter; 19(1): 62–67.
4. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5409713/
Anna Gluba-Brzózka, Beata Franczyk, and Jacek Rysz . Vegetarian Diet in Chronic Kidney Disease—A Friend or Foe. Nutrients. 2017 Apr; 9(4): 374.